ไฟตัดหมอกมีไว้ทำไม ใช้เมื่อไหร่ถึงไม่รบกวนคนอื่น

ไฟตัดหมอกมีไว้ทำไม ใช้เมื่อไหร่ถึงไม่รบกวนคนอื่น

Oct 10, 2023

        มีหลายครั้งที่เกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนเพราะทัศนวิสัยในการขับขี่ของผู้ขับ เนื่องมาจากสภาพอากาศ ฝนตกหนัก หมอกหนา หรือพายุรุนแรง ดังนั้น รถยนต์หลายรุ่นมีฟังก์ชั่นหนึ่งที่ช่วยอำนวยความสะดวกหากจำเป็นต้องการเคลียร์ทางให้มองเห็นได้ง่ายขึ้น ซึ่งนั้นก็คือ “ไฟตัดหมอก” นั่นอง
       แต่ก็มีผู้ใช้งานรถยนต์หลายคนใช้งานำไฟตัดหมอกผิดสถานการณ์ นำไปสู่อุบัติเหตุได้เช่นกัน วันนี้  ASN Broker พาไปรู้จัก ไฟตัดหมอก พร้อมกฎหมายที่ต้องรู้ก่อนใช้ จะมีอะไรน่าสนใจบ้าง ไปดูพร้อมๆกัน!

ไฟตัดหมอกมีไว้ทำไม?
      ไฟตัดหมอก หรือ Fog Lamp ตามชื่อเลยก็มีไว้ใช้เพื่อตัดหมอก หากต้องขับรถผ่านควันหนา พื้นที่มืดสนิท วันที่ฝนตกหนักๆ หรือถ้าเป็นในต่างประเทศก็มีหิมะตกที่ไม่เอื้อต่อการมองเห็นเส้นทางข้างหน้า ไฟหน้ารถปกติจะมีระยะมองเห็นไม่เกิน 10-15 เมตร ไฟตัดหมอกจึงออกแบบมาเพื่อแก้ไขปัญหานี้ โดยมีไฟฉายกำลังสูง มองเห็นในระยะ30-80 เมตร 

ทำไมถึงมีกฎหมายบังคับไฟตัดหมอก?
      ไฟตัดหมอกมีลักษณะเป็นไฟสปอตไลท์กระจายแสงในแนวนอน มองเห็นได้ในระยะไกล แต่กลับสร้างปัญหาให้กับคนขับที่สวนเลนมาอาจส่องแสงแยงตารถคันอื่นบนท้องถนน หรือสะท้อนกระจกหลังของรถคันหน้าได้ จึงเป็นเหตุผลให้มีพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2522  กำหนดการเปิดไฟตัดหมอกใช้ได้ในกรณีมีหมอก ควัน หรือฝุ่นละอองจนเป็นอุปสรรคที่อาจทำให้เกิดอันตรายในการขับขี่ รวมถึงเปิดใช้เมื่อไม่มีรถสวนมาอยู่ในระยะแสงไฟ 150 เมตร โดยสามารถใช้หลอดไฟแสงขาวหรือแสงเหลือง ที่มีกำลังไฟไม่เกินดวงละ 55 วัตต์เท่านั้น หากมีการใช้ไฟตัดหมอกด้วยเหตุผลอื่น ไม่เป็นไปตามที่กำหนด จะมีโทษปรับไม่เกิน 500 บาท ตามมาตรา 148

ไฟตัดหมอกใช้ตอนไหน?
1.เมื่อฝนตกหนักทั้งในเวลากลางวันและกลางคืน
2.เปิดใช้หลังฝนตกหนัก ลดปัญหาแสงไฟสะท้อนน้ำบนพื้นถนน 
3.เปิดในตอนกลางคืนที่มีแสงน้อยหรือถนนที่ไม่มีไฟข้างทาง แต่เมื่อมีรถสวนมาในเลนฝั่งตรงข้ามต้องปิดไฟตัดหมอกทันทีเพื่อไม่เป็นการรบกวนผู้อื่น
4.เปิดไฟตัดหมอกเมื่อขึ้นเขาหรือลงเขา หากมีหมอกหนาจัด นอกจากนี้ยังมีประโยชน์ในการส่งสัญญาณให้รถคันอื่น ๆ รู้ตำแหน่งรถของผู้ขับขี่ด้วย
5.ในกรณีหมอกลงจัดหรือหากฝุ่นควันหนาจนบดบังทัศนวิสัยการขับรถ เช่น ฝุ่น PM2.5 เป็นต้น

 

 

        สรุปแล้ว ไฟตัดหมอกมีประโยชน์ในการเพิ่มทัศนวิสัยในการมองเห็นของผู้ขับ แต่หากไม่ระวัง และใช้งานไฟตัดหมอกแบบไม่คำนึงถึงคนอื่นบนถนนก็อาจเป็นต้นเหตุของอุบัติเหตุร้ายแรงตามมาได้ ถ้าเป็นเรื่องการสัญจรไปมาบนถนน สิ่งที่ขาดไม่ได้คือ สติ และความพร้อม ก่อนออกจากบ้านหมั่นดูแลรถยนต์เช็กสภาพรถยนต์เบื้องต้นด้วยหลัก BE-WAGON ง่ายๆ ด้วยตัวเอง และที่สำคัญต้องมีประกันรถยนต์ติดรถไปด้วย ถ้าต้องเจอกับหมอกหนา หรือฝ่าพายุเป็นประจำ แนะนำทำประกันรถยนต์ชั้น 1 คุ้มครองสูงสุด แม้ไร้คู่กรณี เจอกับภัยธรรมชาติก็เคลมความเสียหายได้ เช็กราคาประกัน หาแบบที่ไหนถูกๆไม่ได้อีกแล้ว ต้องมาที่ ASN Broker เท่านั้น ประกันรถยนต์ชั้น 1 ราคาดี มีส่วนลด ได้ความคุ้มครองเสริม ผ่อนจ่ายในราคาที่ประหยัดขึ้น บริการฟรีไม่มีค่าธรรมเนียม!

ที่มาข้อมูล :  สำนักข่าวไทยรัฐ
อัพเดตข้อมูลเมื่อ : 18/09/2566

บทความน่าสนใจ
5 ภัยธรรมชาติที่ประกันรถยนต์คุ้มครอง
จุดที่ต้องเช็กรถยนต์ก่อนเดินทางไกล
ไอเท็มติดรถยนต์ ช่วยเหลือยามฉุกเฉิน


ปรึกษาเรื่องการซื้อประกันรถยนต์จากเรา

บทความอื่นๆที่น่าสนใจ

ASN Broker คลายข้อสงสัย เมื่อเจอภัยน้ำท่วม รถพังแบบไหนประกันรถยนต์ไม่รับเคลม และขั้นตอนขั้นตอนเคลมรถพังจากน้ำท่วม พร้อมรายชื่อบริษัทที่รับคุ้มครองภัยพิบัติน้ำท่วม อัปเดต 2567

Sep 19, 2024

ขับรถสวนเลน ขับรถย้อนศรเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ ประกันรถยนต์จ่ายไหม? ประกันรถยนต์ชั้นไหนรับเคลมบ้าง? บทความนี้มีคำตอบ

Sep 9, 2024

บางครั้งการจอดรถซ้อนคันอาจรู้สึกเหมือนเป็นทางเลือกที่เลี่ยงไม่ได้ ASN Broker แชร์เทคนิคจอดรถยนต์ซ้อนคันอย่างเหมาะสม

Sep 3, 2024