“ค่าเสียหายส่วนแรก” ทำความเข้าใจก่อนซื้อประกันรถยนต์
Sep 12, 2023
อะไรคือ ค่าเสียหายส่วนแรก ?
“ค่าเสียหายส่วนแรก” คือ เงินที่ผู้ทำประกันจำเป็นควักเงินจ่ายให้กับบริษัทประกัน กรณีเป็นฝ่ายผิดหรือไม่สามารถระบุคู่กรณี และต้องการนำรถยนต์เข้าซ่อม แต่หากผู้ทำประกันเป็นฝ่ายถูก จะไม่ต้องเสียค่าความเสียหายส่วนแรก ซึ่งค่าความเสียหายนี้จะแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ ดังนี้
1. ค่าเอ็กเซส (Excess)
เป็นค่าเสียหายที่ไม่ได้เกิดจากการชนหรือพลิกคว่ำ ซึ่งหาคู่กรณีไม่ได้ และไม่สามารถระบุรายละเอียดคู่กรณีที่ชัดเจนได้ เช่น ขับรถไถลตกข้างทางแต่ไม่พลิกคว่ำ เจ้าของรถยนต์ หรือผู้ทำประกัน จะสามารถเคลมความเสียหายกับบริษัทประกันได้ แต่ต้องเสียค่าเสียหายส่วนแรกออกไปก่อน ส่วนใหญ่เริ่มต้นที่ 1,000 บาท ต่อเหตุการณ์
2. ดีดักทิเบิ้ล (Deductible)
เป็นค่าเสียหายส่วนแรกที่ผู้ทำประกันต้องรับภาระค่าใช้จ่าย เมื่อเกิดอุบัติเหตุขึ้น หากเป็นฝ่ายผิดเองหรือไม่มีคู่กรณี ผู้ทำประกันจะยินยอมจ่ายค่าเสียหายในส่วนแรกตามจำนวนที่กำหนด แต่ผู้ทำประกันจะได้สิทธิจ่ายเบี้ยประกันรถยนต์ลดลงตามจำนวนที่กำหนดไว้ในเงื่อนไขการทำประกันกับบริษัทประกัน ตัวอย่างเช่น นาย A ทำประกันกับบริษัทประกันภัยแห่งหนึ่งโดยมีการกำหนดค่าเบี้ยไว้ที่ 30,000 บาท โดยตกลงกันให้กำหนดค่าเสียหายส่วนแรกไว้ในกรมธรรม์ 3,000 บาท นาย A ก็จะได้ส่วนลดค่าเบี้ยประกัน 3,000 บาท ดังนั้นจะเหลือค่าเบี้ยที่เราต้องจ่ายจริง 27,000 บาท โดยหากเกิดอุบัติเหตุและนาย A เป็นฝ่ายผิด นาย A ต้องจ่ายค่าเสียหายส่วนแรกเป็นจำนวนเงิน 3,000 บาท ตามที่ได้ทำข้อตกลงไว้ในกรมธรรม์ หากประกันประเมินความเสียหายของรถเราแล้วไม่เกิน 3,000 บาท นาย A อาจเลือกรับผิดชอบเองตามความเสียหายที่เกิดขึ้นจริง
ท่านสามารถเลือกแพ็กเกจที่มีค่าเสียหายส่วนแรก เพื่อรับค่าเบี้ยประกันที่ถูกลงหรือจะเลือกไม่มีค่าเสียหายส่วนแรกก็ได้ตามความสมัครใจในการซื้อประกันรถยนต์แต่ละครั้ง หากสนใจซื้อประกันรถยนต์กับ ASN Broker ท่านจะได้แผนประกันรถยนต์ที่ตรงใจ เรามีเจ้าหน้าที่มากประสบการณ์พร้อมให้คำปรึกษา คัดสรรประกันราคาดี มีส่วนลด และให้ความคุ้มค่ากับความคุ้มครองเพิ่มเติมจากแพ็กเกจประกันจากเรา เพราะเรารู้ดีว่า ประกันรถยนต์เป็นเรื่องจำเป็นและขาดไม่ได้
บทความที่น่าสนใจเกี่ยวกับประกันรถยนต์
เบอร์โทรแจ้งเคลมประกัน 23 บริษัทประกันภัยชั้นนำยอดนิยม
ซื้อประกันรถยนต์ชั้น 2+ ที่ไหนดี แนะนำ 4 บริษัทประกันภัยน่าสนใจปี 2566
5 เหตุผล ทำไมเบี้ยประกันภัยรถยนต์ถึงสูง