กฎหมายน่ารู้ นั่งท้ายรถกระบะ ผิดกฎหมายหรือไม่? พร้อมแนวทางปฏิบัติที่ถูกต้อง

กฎหมายน่ารู้ นั่งท้ายรถกระบะ ผิดกฎหมายหรือไม่? พร้อมแนวทางปฏิบัติที่ถูกต้อง

Aug 3, 2023

        จากเหตุการณ์รถกระบะพลิกคว่ำตามโค้งต่าง ๆ ทั้งบนนถนน และเส้นทางจราจรบนทางด่วนต่าง ๆ โดยมีผู้โดยสารนั่งท้ายท้ายกระบะ และได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตอยู่หลายครั้ง จนมีข้อกำหนดตามกฎหมายเพื่อบังคับใช้สำหรับผู้ใช้รถใช้ถนนหากต้องบรรทุกขนส่งโดยมีผู้โดยสารนั่งท้ายไปด้วย วันนี้ ASN Broker มาชี้ข้อกฎหมายเกี่ยวกับการบรรทุกโดยสารนั่งท้ายรถกระบะ พร้อมแนวทางปฎิบัติที่ถูกต้อง
        เพื่อให้ได้รับความคุ้มครองที่ครอบคลุม ASN Broker ขอแนะนำประกันรถกระบะบรรทุกชั้น 2+ ที่ให้ความคุ้มครองเสริม ชดเชยความเสียหายกรณีรถพลิกคว่ำตกข้างถนน พร้อมหาแพ็กเกจอื่นๆอีกมากมาย การันตีความคุ้มค่า ราคาถูก บริการตรงใจจากเจ้าหน้าที่มากประสบการณ์

กฎหมายน่ารู้ นั่งท้ายรถกระบะ ผิดกฎหมายหรือไม่?

         อ้างอิงจาก พ.ร.บ. รถยนต์ พ.ศ. 2522 และ พ.ร.บ. จราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 21 ระบุว่า  ห้ามใช้รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลที่มีน้ำหนักรถไม่เกิน 1,600 กก.  เป็นรถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน หรือใช้รถยนต์นั่งส่วนบุคคลบรรทุกส่วนบุคคล ดังนั้น การนั่งโดยสารบริเวณท้ายรถกระบะถือว่ามีความผิด เพราะใช้รถไม่ตรงตามประเภทที่จดทะเบียนไว้ หากฝ่าฝืนมีโทษปรับสูงสุดไม่เกิน 2,000 บาท

         ตัวอย่างเช่น ถ้าจดทะเบียนรถกระบะเป็นรถบรรทุก (ป้ายสีเขียว) จะเอามาบรรทุกผู้โดยสารไม่ได้ เพราะถือว่านำรถมาใช้งานไม่ตรงกับที่จดทะเบียน ทั้งนี้ หากจดทะเบียนรถกระบะเป็นรถยนต์นั่งเกิน 7 คน (ป้ายสีน้ำเงิน) โดยที่ทำการต่อเติมหลังคาและมีที่นั่งชัดเจน จะนำมาใช้บรรทุกสิ่งของก็ไม่ได้เช่นเดียวกัน

         ล่าสุดเมื่อวันที่ 17 ก.พ.2566 พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติจราจรทางบก (ฉบับที่ 13) พ.ศ.2565 มีการอนุโลมเกี่ยวกับกฎหมายนั่งท้ายรถกระบะเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้ขับรถกระบะและผู้โดยสาร ดังต่อไปนี้

- มีการอนุโลมให้นั่งโดยสารในแค็บได้สูงสุดไม่เกิน 3 คน โดยไม่จำเป็นต้องรัดเข็มขัดนิรภัยและท้ายกระบะได้สูงสุดไม่เกิน 6 คน

- ต้องปิดฝากระบะท้ายรถตลอดการเดินทางเพื่อป้องกันการตกรถของผู้โยสาร

- ห้ามนั่งริมขอบกระบะ หลีกเลี่ยงการพลักตกของผู้โดยสาร

- ห้ามนั่งโดยสารซ้อนผู้อื่น หรือนั่งบนสิ่งของที่บรรทุกบนท้ายกระบะ

- ห้ามยืนโดยสารเด็ดขาดไม่ว่าจะอยู่บนตำแหน่งใดของกระบะท้าย

- ไม่ยื่นส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายออกนอกตัวรถระหว่างเดินทาง

- กำหนดให้ใช้ความเร็วสูงสุดไม่เกิน 60 กม./ชม. เท่านั้น

          สอดคล้องความนิยมในช่วงเทศกาลที่มีผู้คนเดินทางกลับต่างจังหวัดเป็นจำนวนมาก ได้มีการผ่อนผันได้ตามความเหมาะสม แต่ก็มีบางกรณีที่ห้ามทำเด็ดขาด เช่น ห้ามขึ้นทางพิเศษ เนื่องจากมีข้อกำหนดไว้อย่างชัดเจนว่าห้ามให้รถกระบะบรรทุกผู้โดยสารใช้ทางพิเศษโดยเด็ดขาด เนื่องจากอาจเกิดอุบัติเหตุเกิดขึ้นได้

         ถ้าจะให้ดี หากมีความจำเป็นต้องบรรทุกผู้โดยสาร  ควรนำรถไปติดตั้งโครงหลังคากระบะ และจดทะเบียนให้ถูกต้องตามกฎหมาย เพื่อจะได้เป็นการเพิ่มความปลอดภัยให้กับผู้โดยสารนั่งท้ายกระบะ และหลีกเลี่ยงการถูกปรับตามข้อกำหนดด้วย

        และเพื่อให้ได้รับการคุ้มครองตลอดการเดินทางและหลีกเลี่ยงความเสียหายทั้งชีวิตและทรัพย์สิน แนะนำทำประกันรถกระบะบรรทุกชั้น 2+ กับ ASN Broker ท่าจะได้รับกรมธรรม์ประกันภัยที่ให้ความคุ้มครองสูงสุด พร้อมแพ็จเก็จเสริมที่พิเศษกว่าใคร คุ้มครองรถพลิกคว่ำตกถนน ชดเชยความเสียหายได้มากถึง 50,000 บาท และบริการเสริมอื่น ๆอีกมากมายจากหลากหลายแผนประกันรถยนต์จาก ASN Broker หากสนใจกรอกรายละเอียดได้ที่หน้าเว็บไซต์ ASN Broker เพื่อให้เจ้าหน้าที่ของเราติดต่อกลับไป เราพร้อมคัดสรรประกันรถยนต์ราคาดีให้ท่านเสมอ อย่ารอช้า!

 

ข้อมูลจาก : thaipbs.or.th / sanook.com


ปรึกษาเรื่องการซื้อประกันรถยนต์จากเรา

บทความอื่นๆที่น่าสนใจ

ASN Broker คลายข้อสงสัย เมื่อเจอภัยน้ำท่วม รถพังแบบไหนประกันรถยนต์ไม่รับเคลม และขั้นตอนขั้นตอนเคลมรถพังจากน้ำท่วม พร้อมรายชื่อบริษัทที่รับคุ้มครองภัยพิบัติน้ำท่วม อัปเดต 2567

Sep 19, 2024

ขับรถสวนเลน ขับรถย้อนศรเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ ประกันรถยนต์จ่ายไหม? ประกันรถยนต์ชั้นไหนรับเคลมบ้าง? บทความนี้มีคำตอบ

Sep 9, 2024

บางครั้งการจอดรถซ้อนคันอาจรู้สึกเหมือนเป็นทางเลือกที่เลี่ยงไม่ได้ ASN Broker แชร์เทคนิคจอดรถยนต์ซ้อนคันอย่างเหมาะสม

Sep 3, 2024